อานิสงส์

อานิสงส์ ผลแห่งการบูชาพระสถูป
ถวายฉัตร, ไทยธรรม, ทาน, .
..

ภาพ:
ยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา วัดมหาโพธิมหาวิหาร
พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เมื่อ ๒๙/๐๑/๒๕๕๕
ภาพ:
พระพุทธเมตตา ประดิษฐานอยู่ภายในพระมหาเจดีย์
พุทธคยา ซึ่งอยู่เคียงข้างโพธิบัลลังก์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์


[01]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๖๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๑๙ หน้าที่ ๖๑/๔๒๘
อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทานที่ ๗ (๑๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ์

" ผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ์ .. ประดับที่ฉัตร .."
" โปรย (กั้น) ถวายแด่พระพุทธเจ้า .."
" และเราได้ถวายบิณฑบาตมีข้าวชั้นพิเศษ .."
" ที่จัดว่าเป็นโภชนะอย่างดี .."
" พระสยัมภูมหาวีรเจ้าผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ ทรงอนุโมทนาว่า .."
" ด้วยการถวายฉัตรนี้ (และ) ด้วยจิตอันเลื่อมใส .."
" ถวายข้าวชั้นพิเศษนั้น .."
" ท่านจักได้เสวยสมบัติ .."
" จักเป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติ ๓๐ ครั้ง .."
" จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๑ ครั้ง .."
" จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ .."
" โดยคณานับไม่ถ้วนในแสนกัลป .."
" เมื่อพระศาสนากำลังรุ่งเรือง ผู้นี้จักถึงความเป็นมนุษย์ .."
" จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา .."
" เราถอนภพได้ทั้งหมด เราชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[02]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๑๙๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๑๔๓ หน้าที่ ๑๙๐/๔๒๘
ฉัตตวรรคที่ ๑๕
อธิฉัตติยเถราปทานที่ ๑ (๑๔๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตร

" ผลแห่งการบูชาด้วยฉัตร .."
" เมื่อพระผู้มีพระภาค .. ผู้สูงสุดกว่านระ ปรินิพพานแล้ว .."
" เราให้ช่างทำฉัตรเป็นชั้นๆ บูชาไว้ที่พระสถูป .."
" ได้มานมัสการพระพุทธเจ้า .. ตามกาลอันสมควร .."
" ทำหลังคาดอกไม้บูชา (ยกขึ้น) ไว้ที่ฉัตร .."
" ใน ๑๗๐๐ กัลป เราได้เสวยเทวรัชสมบัติ .."
" ไม่ไปสู่ความเป็นมนุษย์เลย .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[03]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๓๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๓๓๑ หน้าที่ ๓๑๓/๔๒๘ - หน้าที่ ๓๑๔/๔๒๘
ปุปผฉัตติยเถราปทานที่ ๙ (๓๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกบัว

" ผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกบัว .."
" เรานำดอกบัว .."
" มาทำเป็นฉัตรดอกไม้บูชาแด่พระพุทธเจ้า .."
" พระศาสดา .. ได้ตรัสคาถานี้ว่า .."
" ผู้ใดยังจิตให้เลื่อมใส ได้กั้นฉัตรดอกไม้ให้เรา .."
" ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติเลย .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[04]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๒๘๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๒๙๕ หน้าที่ ๒๘๘/๔๒๘
ฉัตตทายกเถราปทานที่ ๓ (๒๙๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายฉัตร

" ผลแห่งการถวายฉัตร .."
" บุตรของเราบวชแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ .."
" ท่านนั้นบรรลุถึงความเป็นพระพุทธะ .."
" อันชาวโลกบูชา นิพพานแล้ว .."
" เราประนมกรอัญชลี ไหว้จิตกาธารที่ป่าช้านั้น .."
" ยกฉัตรขาวขึ้น ตั้งประดิษฐานไว้ (บูชา) ในกาลนั้น .."
" ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[05]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๓๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๓๓๒ หน้าที่ ๓๑๔/๔๒๘ - หน้าที่ ๓๑๖/๔๒๘
สปริวารฉัตตทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายฉัตร

" ผลแห่งการถวายฉัตร .."
" ข้าพระองค์ถือเอาฉัตรที่ประดับแล้ว .."
" เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า .."
" พระสาวกผู้อุดมฝึกตนแล้วเข้าไปเฝ้า .. ''
''.. ตั้งฉัตรไว้เหนือพระเศียร .."
" พระพุทธเจ้า .. ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า .."
" ผู้ใดถวายฉัตรอันประดับแล้วเป็นที่รื่นรมย์ใจนี้ .."
" ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติเลย .."
" จักได้เสวยเทวรัชสมบัติในเทวดา ๗ ครั้ง .."
" จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๒ ครั้ง ในแสนกัลป .."
" ผู้นั้นจักเป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรม .."
" ของพระศาสดาพระองค์นั้น .."
" กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน .."
" ข้าพระองค์ละกำเนิดมนุษย์แล้วได้ไปสู่กำเนิดทิพย์ .."
" ข้าพระองค์ได้ถวายฉัตร .."
" อันวิจิตรประดับสวยงามแด่พระพุทธเจ้า .."
" ด้วยการถวายฉัตรคันหนึ่ง ข้าพระองค์ไม่เข้าถึงทุคติเลย .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[06]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๓๖๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๓๙๓
หน้าที่ ๓๖๕/๔๒๘ - หน้าที่ ๓๗๐/๔๒๘ - หน้าที่ ๓๗๘/๔๒๘
ปิลินทวรรคที่ ๔๐
ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร

" ผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร .."
" ทานอันประเสริฐที่ใครยังไม่เคยถวาย .."
" เราจักเป็นคนแรกในทานนั้น .."
" เราจักถวายบริขาร ในสงฆ์อันเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด .."
" เราจึงเข้าไปหาช่างจักสาน จ้างให้ทำฉัตร .."
" พระมหามุนี .. เสด็จเข้ามาสู่นิเวศน์ของเรา .."
" ฉัตรทรงอยู่ในเบื้องบน .."
" (เราทูลว่า) ขอพระองค์ผู้มีจักษุ โปรดทรงรับฉัตร .."
" พระมหามุนี .."
" ประทับนั่งอยู่ภายในเงาฉัตร ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า .."
" มาณพผู้ใดได้ถวายทานอันประเสริฐ ไม่พร่องแก่เรา .."
" จตุรงคินีเสนา .. จักแวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ .."
" ชนทั้งหลายจักบำรุงมาณพนั้นเนืองนิตย์ .."
" รถ ๖ หมื่น .. ดนตรี ๖ หมื่น .."
" นางนารี ๘๖๐๐๐ .. สวยงาม .. วิจิตร .."
" จักแวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ .."
" นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง .."
" มาณพนั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป .."
" จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๑๐๐๐ ครั้ง .."
" จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐๐๐ ครั้ง .."
" จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ .."
" โดยคณนานับมิได้ .."
" เมื่อมาณพนี้อยู่ในเทวโลก .. เทวดาจักทรงฉัตรแก้วไว้ .."
" มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว .. จักเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ .."
" ใน (อีก) แสนกัลป พระศาสดา .."
" ทรงตั้งไว้ในเอตทัคสถาน .."
" มาณพผู้นี้จักได้เป็นพระสาวกของพระศาสดา .."
" จักเป็นผู้อันเทวดา อสูร คนธรรพ์ ภิกษุ ภิกษุณี .."
" และคฤหัสถ์ .. สักการะ .."
" จักเป็นที่รักของคนทั้งปวง .. จักไม่มีอาสวะ นิพพาน .."
" มาณพใดได้ให้ทานอันประเสริฐไม่บกพร่อง .."
" มาณพนั้นได้เป็นหัวหน้า .."
" เราได้ถวายฉัตร ในพระสุคตเจ้า .."
" และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว .."
" ได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ .."
" อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ .."
" เราไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึกร้อน ๑ .."
" ละอองและธุลีไม่แปดเปื้อน ๑ .."
" เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ .."
" อันมหาชนยำเกรงทุกเมื่อ ๑ .."
" เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด ๑ .."
" เป็นผู้มีใจกว้างขวาง (ไม่หดหู่) ๑ .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[07]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน
ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
ข้อที่ ๒ หน้าที่ ๓/๔๐๘ - หน้าที่ ๗/๔๐๘
เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๒
ว่าด้วยผลแห่งการกางเศวตฉัตรถวายพระพุทธเจ้า

" ผลแห่งการกางเศวตฉัตรถวายพระพุทธเจ้า .."
" พระผู้มีพระภาค .."
" เมื่อทรงประกาศสัจจะ ๔ ได้ทรงแสดงอมตบท .."
" ข้าพระองค์ถือเศวตฉัตรกั้นถวาย .."
" แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ .."
" พระผู้มีพระภาค .. ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า .."
" ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส .."
" ได้กั้นเศวตฉัตรให้เราด้วยมือทั้งสองของตน .."
" เมื่อผู้นี้เกิดในเทวดาหรือมนุษย์ .."
" ชนทั้งหลายจักคอยกั้นเศวตฉัตรให้ทุกเมื่อ .."
" ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ กัป .."
" จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง .."
" จักเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๗๗ ครั้ง .."
" จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ .."
" โดยคณนานับไม่ถ้วน .."
" เขาจักเป็นทายาทในธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น .."
" จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว .."
" เป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" ข้าพระองค์ทำให้เสร็จแล้ว .."


 

[08]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๒๗๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน
ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ข้อที่ ๑๗๖
หน้าที่ ๒๗๘/๔๐๘ - หน้าที่ ๒๘๐/๔๐๘
อภิรูปนันทาเถริยาปทานที่ ๖
ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภิรูปนันทาเถรี

" ผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรทอง .. มีจาคะอันสละแล้ว มีศีล .."
" ดิฉัน .. ได้เข้าเฝ้าพระพุทธวิปัสสีผู้มีความเพียรมาก .."
" ได้ฟังธรรมแล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ สำรวมอยู่ในศีล .."
" เมื่อพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น .. ปรินิพพานแล้ว .."
" ดิฉันได้เอาฉัตรทองบูชาไว้ .."
" ณ เบื้องบนแห่งพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ .."
" ดิฉันเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้ว มีศีลจนตลอดชีวิต .."
" ละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ .."
" ครอบงำเทพธิดาทั้งหมดด้วยฐานะ ๑๐ ประการ .."
" รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ .."
" อายุ วรรณะ สุข ยศ .. อธิบดี .."
" ในภพหลังครั้งนี้ .. ดิฉันเกิดในพระนครกบิลพัสดุ์ .."
" รูปงาม .. จึงให้ดิฉันบวชเสีย"
" เข้าไปสู่สำนักของพระองค์ .."
" เห็นหญิงทั้ง ๓ แล้ว มีความสลดใจ"
" พระผู้มีพระภาคนายกของโลกตรัสกะดิฉันว่า .."
" ดูกรนันทา .."
" ท่านจงดูร่างกายที่ทุรนทุราย ไม่สะอาด โสโครก .."
" ไหลเข้าถ่ายออกอยู่ ที่พวกพลาชนปรารถนากัน .."
" ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิ .."
" มีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอสุภเถิด .."
" รูปนี้เป็นฉันใด รูปท่านนั้นก็เป็นฉันนั้น .."
" ดิฉันผู้ไม่ประมาท พิจารณาในร่างกายนี้อยู่โดยแยบคาย .."
" จึงเบื่อหน่ายในกาย .. .."
" ไม่ยินดี .. ไม่เกาะเกี่ยว เป็นผู้สงบเย็น .."
" มีความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ .."
" และในเจโตปริยญาณ .."
" รู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพจักษุ .. สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว .."
" มีญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้ว .."
" พระพุทธศาสนา ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว .."


 

[09]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๑๓๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๗๓ หน้าที่ ๑๓๒/๔๒๘
นาคสมาลวรรคที่ ๘
นาคสมาลเถราปทานที่ ๑ (๗๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาสถูปด้วยดอกแคฝอย

" ผลแห่งการบูชาพระสถูป .."
" เราถือเอาดอกแคฝอยไปบูชาที่พระสถูป .."
" ของพระผู้มีพระภาค .."
" ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[10]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๒๐๖.
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๑๖๖ หน้าที่ ๒๐๖/๔๒๘
เทสปูชกเถราปทานที่ ๔ (๑๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาสถานที่

" ผลแห่งการบูชาสถานที่ .."
" พระศาสดามหามุนี .. ไปประทับอยู่ ณ ประเทศใด .."
" เรามีจิตเลื่อมใสได้บูชาประเทศนั้น ด้วยมือทั้งสองของตน .."
" เราได้เห็นพระมหามุนีใด .."
" ด้วยการเห็นนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[11]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๑๖๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๑๒๑ หน้าที่ ๑๖๙/๔๒๘ - หน้าที่ ๑๗๐/๔๒๘
ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙ (๑๑๙)
ว่าด้วยผลแห่งการทำกรรมที่ได้โดยยาก

" ผลแห่งการทำกรรมที่ได้โดยยาก .."
" ผู้ใดพึงบูชาพระสัมพุทธเจ้า .. ยังดำรงพระชนม์อยู่ก็ดี .."
" พึงบูชาพระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด .."
" แม้นิพพานแล้วก็ดี .."
" เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน .."
" บุญก็มีผลมากเสมอกัน .."
" ข้าพระองค์ .. ได้ทำพุทธสถูป .."
" บำรุงพระสถูปอันอุดมของพระมุนี .."
" ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์เสวยสมบัติแล้ว ได้บรรลุอรหัต .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[12]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๑๓๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ข้อที่ ๘๑ หน้าที่ ๑๓๖/๔๒๘ - หน้าที่ ๑๓๗/๔๒๘
ฐิตัญชลิยเถราปทานที่ ๙ (๗๙)
ว่าด้วยผลแห่งการประนมกรอัญชลี

" ผลแห่งการประนมกรอัญชลี .."
" เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าชัฏ .."
" ได้พบพระสัมพุทธเจ้า .."
" ผู้มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ .."
" ณ ที่นั้น เราประนมกรอัญชลีแล้ว เดินบ่ายหน้าไป .."
" ในเวลาใกล้ตาย เราได้ประนมกรอัญชลีอีกครั้งหนึ่ง .."
" ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย .."
" ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ .. อภิญญา ๖ .."
" เราทำให้แจ้งชัดแล้ว .."


 

[13]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๑๗๕
พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
ข้อที่ ๑๒๐ หน้าที่ ๑๗๕/๔๔๗ - หน้าที่ ๑๗๖/๔๔๗
๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของธาตุวิวัณณเปรต

" ผลของการติเตียนการบูชาพระสถูป .."
" บุพกรรมของธาตุวิวัณณเปรต .."
" มีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไป .."
" และหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกินปาก .."
" เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ .."
" ห้ามปรามภรรยาธิดา .. ลูกสะใภ้ .. ไปสู่สถูปเพื่อบูชา .."
" บาปนั้น .. ได้ทำไว้แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนา .."
" จักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ ๘๖,๐๐๐ ปี .."
" ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์ .."
" น่าขนพองสยองเกล้าอันไม่เคยมีนั้นแล้ว .."
" ย่อมทำการนอบน้อมวันทาพระมหามุนีนั้น .."
" ไปจากเปตโลกนี้แล้ว .."
" ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็นผู้ไม่ประมาท .."
" ทำการบูชาพระสถูปเนืองๆ เป็นแน่แท้. .."


 

[14]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๓๖
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ข้อที่ ๔๐๒ - ๔๐๓
หน้าที่ ๑๓๖/๒๗๙ - หน้าที่ ๑๓๗/๒๗๙
นิคมคาถา

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย .."
" ใครๆ จงอย่าเกิดเป็นคนปรารถนาลามก .."
" ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำบาปกรรม .."
" บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้น .."
" ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ .."
" บัณฑิตพึงกระทำพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า .."
" ให้เป็นมิตร และพึงคบหาท่าน .."


 

[15]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๑๕๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
ข้อที่ ๑๐๖ หน้าที่ ๑๕๐/๔๔๗ - หน้าที่ ๑๕๖/๔๔๗
๙. อังกุรเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของอังกุรเปรต

" ผลแห่งทานที่ทายกให้แล้วในทักขิไณยบุคคล .."
" บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด .."
" ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น .."
" บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด .."
" ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น .."
" เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม .."
" บุคคลพึงพักอาศัยในเรือนของบุคคลใดแม้เพียงคืนหนึ่ง .."
" พึงได้รับบำรุงด้วยข้าวและน้ำ .."
" ก็ไม่พึงคิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ .."
" ผู้ใดประทุษร้ายต่อนระผู้ไม่ประทุษร้าย .."
" บาปย่อมกลับมาถึงผู้นั้น .."
" ผลบุญสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร .."
" ได้ยกมือเบื้องขวาชี้บอก .."
" ท่านทั้งหลายจงไปทางนี้ ความเจริญจักมีแก่ท่าน .."
" เราไปจากที่นี่ .."
" จักเริ่มให้ทานที่นำความสุขมาให้แก่เราแน่แท้ .."
" เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป .."
" ครั้นเราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง .."
" เมื่อกำลังให้ พึงยังจิตให้เลื่อมใส .."
" บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญการไม่ให้ทานและการให้เกินควร .."
" บุคคลผู้เป็นปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม .."
" ควรประพฤติโดยพอเหมาะ .."
" ก่อนแต่ให้ก็มีใจเบิกบาน เมื่อกำลังให้ก็ยังจิตให้ผ่องใส .."
" ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน .."
" เราพึงยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม .."
" เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ .."
" อังกุรพาณิชได้ให้ทานและทำการบูชาแล้วอย่างนี้ .."
" ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์ .."
" อินทกมาณพได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แก่พระอนุรุทธเถระ .."
" ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์เหมือนกัน .."
" แต่อินทกเทพบุตร .."
" รุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุรเทพบุตรโดยฐานะ ๑๐ อย่าง .."
" พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า .."
" ดูกรอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้วสิ้นกาลนาน .."
" ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก? .."
" อังกุรเทพบุตร .. ได้กราบทูลว่า .."
" จะทรงประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น .."
" อันว่างเปล่าจากทักขิไณยบุคคล .."
" อินทกเทพบุตรทูลว่า .."
" ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคลผู้ทุศีล .."
" ย่อมไม่มีผลไพบูลย์ .."
" ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้วในท่านผู้มีศีล .."
" บุญย่อมมีผลมาก .."
" พระสุคตทรงสรรเสริญ .."
" ทักขิไณยบุคคลเหล่าใดมีอยู่ในโลกนี้ .."
" ทานที่ทายกให้แล้วในทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น .."
" ย่อมมีผลมาก .. เหมือนพืชที่หว่านแล้วในนาดีฉะนั้น .."


 

[16]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ข้อที่ ๙๙ - ๑๐๑ หน้าที่ ๒๔/๒๘๙ - หน้าที่ ๒๕/๒๘๙

" ผลแห่งทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ .."
" เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า .."
" ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล .."
" แม้เมื่อของมีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี .."
" ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้ .."
" ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้วยิ่งเป็นการดี .."
" ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็นการดี .."
" บุคคลทั้งหลายผู้ควรแก่ทักษิณา .. อันบุคคลให้แล้ว .."
" ในบุคคลทั้งหลายนั้น ย่อมมีผลมาก .."
" เหมือนพืชทั้งหลายที่บุคคลหว่านแล้วในนาดี .."
" ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายยิ่งเป็นการดี .."
" สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาป .."
" เพราะความกลัวบาปแท้จริง .."
" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า .."
" คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต .."
" ธรรมบท (นิพพาน) แหละประเสริฐกว่าทาน .."
" สัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา .."
" บรรลุซึ่งนิพพานแล้วแท้จริง .."


 

[17]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย
ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ข้อที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๘/๔๑๘ - หน้าที่ ๑๙/๔๑๘
คาถาธรรมบท ปัณทิตวรรคที่ ๖

" ผู้บอกขุมทรัพย์ .."
" บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ .."
" เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ .."
" เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น .."
" มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามกย่อมไม่มี .."
" ไม่ควรคบมิตรเลวทราม .."
" ควรคบมิตรดี ควรคบบุรุษสูงสุด .."
" บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรมมีใจผ่องใสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข .."
" บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ .."
" บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งตน .."
" ไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งผู้อื่น .."
" ไม่พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนาทรัพย์ .."
" ไม่พึงปรารถนาแว่นแคว้น .."
" ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตนโดยไม่ชอบธรรม .."
" บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้มีศีลมีปัญญา ประกอบด้วยธรรม .."
" ในหมู่มนุษย์ชนผู้ที่ถึงฝั่งมีน้อย .."
" นอกนี้ย่อมเลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น .."
" ชนเหล่าใดแล .."
" ประพฤติตามธรรมในธรรม .."
" อันพระสุคตเจ้าตรัสแล้วโดยชอบ .."
" ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้โดยยาก แล้วจักถึงฝั่ง .."
" บัณฑิตออกจากอาลัยแล้ว .."
" อาศัยความไม่มีอาลัยละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว .."
" บัณฑิตพึงปรารถนาความยินดียิ่ง .."
" ในวิเวกที่ยินดีได้โดยยาก .."
" ละกามทั้งหลายแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล .."
" พึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองจิต .."
" อบรมจิตด้วยดีโดยชอบ .."
" ในองค์แห่งธรรมสามัคคีเป็นเครื่องตรัสรู้ .."
" ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในการสละคืนความถือมั่น .."
" ชนเหล่านั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว .."
" มีความรุ่งเรืองปรินิพพานแล้วในโลก .."


 

[18]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
ข้อที่ ๑๓๑ หน้าที่ ๑๑๓/๒๖๑ - หน้าที่ ๑๑๔/๒๖๑

" ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ .."
" เป็นที่ควรเห็นของ กุลบุตรผู้มีศรัทธา .."
" ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ .."
" มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง .."
" ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก .."
" จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ .."


 

[19]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
ข้อที่ ๑๔๓ หน้าที่ ๑๒๔/๒๖๑

" พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต .."
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า .."
" สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา .."
" พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด .."


 

[20]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๖๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
ข้อที่ ๕๒๗ หน้าที่ ๒๖๕/๔๑๓

" พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า .."
" บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว .."
" ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง .."
" สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว .."
" และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง .."
" พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ .."
" ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง .."
" เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น .."
" ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย .."


 

[21]
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๖๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
ข้อที่ ๔๗ หน้าที่ ๖๗/๔๔๗ - หน้าที่ ๖๘/๔๔๗

" ผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในปีตวิมาน .."
" สมเด็จอัมรินทราธิราชตรัสถามนางเทพธิดา .."
" มีปราสาทอันแล้วด้วยทองคำ .."
" หม่อมฉันได้น้อมนำเอาดอกบวบขม .."
" ซึ่งมีรสขมไม่มีใครชอบ จำนวน ๔ ดอก .."
" ไปบูชาพระสถูปตั้งจิตอุทิศ .."
" ต่อพระบรมธาตุของพระบรมศาสดา .."
" ด้วยจิตอันเลื่อมใสกำลังส่งใจไป .."
" ในพระบรมธาตุของพระศาสดานั้น .."
" มีความปรารถนาแห่งใจ ยังไม่ถึงพระสถูป .."
" ละอัตภาพมนุษย์แล้ว .."
" เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า .."
" ทักษิณา ย่อมไม่เชื่อว่ามีผลน้อยเลย .."
" เราทั้งหลายพึงรีบเร่งบูชาพระบรมสารีริกธาตุ .."
" ของพระตถาคตให้ยิ่งๆ ขึ้นเถิด .."
" เพราะการสั่งสมบุญย่อมนำสุขมาให้ .."
" เมื่อพระตถาคตจะยังทรงพระชนม์อยู่ .."
" หรือเสด็จปรินิพพานไปแล้วก็ตาม .."
" เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลก็ย่อมสม่ำเสมอ .."
" เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบธรรม สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ .."
" ทายกทั้งหลายได้กระทำสักการะบูชา .."
" ในพระตถาคตเหล่าใดไว้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ .."


 สาธุ.. สาธุ.. สาธุ.. 

  


Visitors: 602,786