Safe+10

 

 

.


พระสูตร ลำดับที่ ๕
จาก ๑๐ พระสูตร
ของความสำคัญที่ชาวพุทธต้องศึกษา
แต่คำสอนจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น
===========================================
คำนำ
ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี
คำสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึ้น
มีสำนักต่างๆ มากมาย ซึ่งแต่ละหมู่คณะก็มีความเห็นของตน
หามาตรฐานไม่ได้ แม้จะกล่าวในเรื่องเดียวกัน
ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่สมบูรณ์
แล้วเราควรเชื่อและปฏิบัติตามใคร ?
ลองพิจารณาหาคำตอบง่ายๆ ได้จาก ๑๐ พระสูตร
ซึ่งพระตถาคตทรงเตือนเอาไว้
แล้วตรัสบอกวิธีป้องกันและแก้ไขเหตุเสื่อมแห่งธรรมเหล่านี้.
ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ?
ที่พุทธบริษัทจะมีมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียว
คือ “พุทธวจน” ธรรมวินัย จากองค์พระสังฆบิดา
อันวิญญูชนพึงปฏิบัติและรู้ตามได้เฉพาะตน ดังนี้.

๕.
ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติ
เฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
===========================================
(บาลี) ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
.
.. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
.. ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด
ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า
“ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้.
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้,
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย
เธอก็บรรเทาลงได้.
.
.
(บาลี) ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒.
.
.. ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?
.. ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด,
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย
อันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึ้ง (คมฺภีรา)
มีอรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา)
ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา (สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา)
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่;
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
.. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่;
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว
ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน
ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไร ดังนี้.
เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้
ไม่หงายของที่ควํ่าอยู่ให้หงายขึ้นได้
ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
.
.. ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?
.. ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด,
เมื่อสุตตันตะทั้งหลายที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่;
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วน สุตตันตะเหล่าใด
อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง
เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง
ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.
เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่ควํ่าอยู่ให้หงายขึ้นได้
บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
.
.. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น
คือ บริษัท ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเอง
เป็นเครื่องนำไป :
ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
.
.
.


พุทธวจนสถาบัน
วัดนาป่าพง
พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล
เผยแผ่โดยใช้ พุทธวจน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอง
และที่ทรงรับรองไว้ เท่านั้น
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว
เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง
เปิดธรรมที่ถูกปิด อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ..
ยิ่งเปิดเผย ยิ่งรุ่งเรือง
ไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ..
ถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
ร่วมกันมุ่งมั่นศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่
คำของตถาคต (พระพุทธเจ้า)
ชมถ่ายทอดสด ดูวิดีโอ ฟัง อ่าน ดาวน์โหลด
พุทธวจน ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์
ได้ที่ WATNAPAHPONG.. http://www.watnapp.com
หรือ.. https://media.watnapahpong.org
.


..

Visitors: 621,474